19 ก.ย. 2557

บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์


++บริษัท เมก้า ริช ทรานสปอร์ต แอนด์ เซอร์วิส จำกัด บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ ทั่วไทย มีรถพร้อมบริการ ครับ++

ติดต่อ 0905611832   หรือ email : megarichtrans@gmail.com

28 มี.ค. 2557

น้ำหนักบรรทุก : Loader Truck

จ้าของสินค้าหลายท่านที่ต้องการขนส่งสินค้า คงอยากทราบว่า แท้จริงแล้ว สามารถบรรทุกของได้ครั้งละประมาณกี่ตัน
ขอสรุป ดังนี้
1. รถสิบล้อขนาดใหญ่ น้ำหนักบรรทุกรวมน้ำหนักรถ ไม่เกิน 25 ตัน
2. รถบรรทุกกึ่งพ่วง(เทรลเลอร์) 18 ล้อ  น้ำหนักบรรทุกรวมน้ำหนักรถ ไม่เกิน 45 ตัน
3. รถบรรทุกกึ่งพ่วง(เทรลเลอร์) 22 ล้อ  น้ำหนักบรรทุกรวมน้ำหนักรถ ไม่เกิน 50.5 ตัน

22 มี.ค. 2557

รับสมัคร พนักงานขับรถเทรลเลอร์ ด่วน

บริษัท เมก้า ริช ทรานสปอร์ต แอนด์ เซอร์วิส จำกัด มีความประสงค์ที่จะรับสมัครพนักงานขับรถเทรลเลอร์(รถหัวลาก) 1 ตำแหน่ง รับสมัครด่วน
คุณสมบัติ1. มีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ประเภท 3 หรือ 4
2. ขยัน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
3. ไม่ติดยาเสพติด
***ถ้ามีประสบการณ์ขับรถเทรลเลอร์มาก่อน จะพิจารณาเป็นพิเศษ
***พื้นที่การวิ่งงาน ท่าเรือคลองเตย ท่าเรือแหลมฉบัง บางนา-ตราด สมุทรปราการ กรุงเทพและปริมณฑล อาจมีวิ่งงานออกต่างจังหวัดบ้างเป็นครั้งคราว

ติดต่อ บริษัท เมก้า ริช ทรานสปอร์ต แอนด์ เซอร์วิส จำกัด  เลขที่  333/167 หมู่บ้านรัชธานี 8 หมู่ที่ 1 ตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540

โทร.0905611832 หรืออีเมล megarichtrans@gmail.com

19 มี.ค. 2557

กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน



กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน
(คำแปล)
อารัมภบท
สมาชิกสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ซึ่งต่อไปในที่นี้เรียกว่าภาคีคู่สัญญา”)
ตระหนักถึง ความสำคัญของการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามแดนในการสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวทางการค้าและการมีปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นในระหว่างภาคีคู่สัญญา
รับทราบถึง การดำเนินงานของประเทศในภูมิภาคทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคีในการอำนวยความสะดวกต่อการขนส่งข้ามแดน
ระลึกถึง แผนปฏิบัติการด้านการขนส่งของอาเซียน พ..2548-2553 ที่มีทิศทางให้นำกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน และกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เพื่อผลักดันให้เกิดระบบโลจิสติกส์และระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบที่ผสมผสานและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะนำไปสู่การเคลื่อนย้ายสินค้าระหว่างฐานโลจิสติกส์ และเมืองสำคัญที่เป็นศูนย์กลางการค้าทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคอาเซียน
ระลึกถึง กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ลงนามที่กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ..2541 ซึ่งสนับสนุนให้ภาคีคู่สัญญาทุกประเทศให้ความเห็นชอบต่อการขนส่งข้ามแดน
ตระหนักถึง ย่อหน้าที่ 3 ข้อ 1 ของกรอบความตกลงเพื่อกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน ลงนามเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ..2535 ณ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งกล่าวว่าในการดำเนินการเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนนั้น หากเป็นการดำเนินการขั้นปฏิบัติการแล้ว ประเทศที่มีความพร้อมตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไป สามารถดำเนินการไปก่อนได้ หากประกาศภาคีสมาชิกอื่น ๆ ยังไม่พร้อมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลง
ปรารถนาที่จะจัดตั้งระบบการขนส่งในภูมิภาคที่มีการเชื่อมประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งครอบคลุมทุกประเด็นของการขนส่งข้ามแดน
ดำเนินการเพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกต่อการจราจรข้ามแดนระหว่างประเทศภาคีสมาชิกได้ตกลงกัน ดังต่อไปนี้
ข้อ
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ของความตกลงนี้ คือ
()เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างและในกลุ่มประเทศภาคีคู่สัญญา
      เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของเขตการค้าเสรีอาเซียน และเพิ่มความเป็นเอกภาพของเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ยิ่งขึ้น
()ประสานและทำให้กฎระเบียบและข้อกำหนดเกี่ยวกับการขนส่ง การค้า และศุลกากร เกิดความเรียบง่าย เพื่อวัตถุประสงค์แห่งการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามแดน และ
()เพื่อดำเนินการร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดระบบการขนส่งในภูมิภาคที่ได้ผล มีประสิทธิภาพ เอกภาพ และความกลมกลืน ซึ่งครอบคลุมทุกประเด็นของการขนส่งข้ามแดน

ข้อ
หลัก
ภาคีคู่สัญญาจะยึดถือหลักต่าง ๆ ภายใต้ความตกลงนี้ คือ
()หลักการปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับการอนุเคราะห์ยิ่ง ภาคีคู่สัญญาจะปฏิบัติต่อการขนส่งข้ามแดนระหว่างดินแดนของภาคีคู่สัญญาอื่นไม่ด้อยไปกว่าที่ปฏิบัติต่อการขนส่งข้ามแดนระหว่างดินแดนของประเทศอื่น
()ความแน่นอน  ภาคีคู่สัญญารับรองว่าการใช้กฎหมาย ระเบียบ ระเบียบปฏิบัติ และระเบียบบริหาร รวมทั้งกฎอื่น ๆ ของแต่ละภาคีคู่สัญญาจะเป็นไปด้วยความแน่นอน
()ความเรียบง่าย  ภาคีคู่สัญญารับรองที่จะพยายามปรับปรุงให้กระบวนการและข้อกำหนดเกี่ยวกับการขนส่งข้ามแดนในอาเซียนมีความเรียบง่าย
()ความโปร่งใส  ภาคีคู่สัญญาจะเปิดให้สาธารณะรับรู้ถึงข้อมูลกฎหมาย กฎระเบียบ ระเบียบปฏิบัติ และประกาศของฝ่ายบริหาร ที่เกี่ยวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และเข้าถึงได้ง่าย
()ประสิทธิภาพ  ภาคีคู่สัญญารับรองที่จะบริหารการขนส่งข้ามแดนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและใช้ได้ผล เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนไหวของสินค้าที่เข้าไปยังและ/หรือออกจากภาคีคู่สัญญา
()การอุทธรณ์  ภาคีคู่สัญญารับรองว่าจะมีกลไกที่ใช้ได้ผลในการทบทวนคำตัดสินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาคีคู่สัญญา ซึ่งผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการขนส่งข้ามแดนในอาเซียนจะสามารถใช้และเข้าถึงได้ง่าย
()การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ภาคีคู่สัญญาจะพยายามให้เกิดความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกแก่สินค้าข้ามแดนในอาเซียน

ส่วนที่
บททั่วไป
ข้อ
นิยาม
เพื่อวัตถุประสงค์ของความตกลงนี้
()“การขนส่งภายในประเทศ หมายถึง การรับขนสินค้าซึ่งได้บรรทุกในดินแดนของภาคีคู่สัญญาประเทศหนึ่งเพื่อทำการขนถ่าย ณ สถานที่ภายในดินแดนของภาคีคู่สัญญานั้น
()“หน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศ หมายถึง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากแต่ละภาคีคู่สัญญาให้ทำหน้าที่จดทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดน
()“สินค้าอันตราย หมายถึง สารและสิ่งของซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม สุขอนามัย ความปลอดภัย และความมั่นคง
()“ประเทศผู้รับ หมายถึง ประเทศภาคีคู่สัญญาซึ่งการขนส่งเกิดขึ้น
()“การขนส่งข้ามแดน หมายถึง การขนส่งสินค้าและการเคลื่อนย้ายของพาหนะที่ใช้ในการขนส่งเข้าไปยังและ/หรือออกจากภาคีคู่สัญญา
()“พาหนะในการขนส่ง หมายถึง รถรวมถึงรถที่อยู่บนเรือ
()“สินค้าเน่าเสียง่าย หมายถึง สินค้าที่อาจถูกทำลายได้ง่ายเนื่องจากอิทธิพลของเวลา อุณหภูมิ หรือการขนส่งเคลื่อนย้าย หากการขนย้ายนั้นไม่ได้กระทำในสภาพที่เหมาะสม สินค้าเหล่านี้รวมถึงปลา สัตว์น้ำ จำพวกที่มีเปลือกหุ้มตัวแข็ง สัตว์จำพวกหอย ผลไม้ ผัก ซึ่งสด แช่เย็น หรือ แช่แข็ง รวมทั้งเนื้อหรือสัตว์ปีกแช่เย็นหรือแช่แข็ง นมและผลิตภัณฑ์โคนม ไข่ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากไข่ เนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสุกร
()“เลขาธิการ หมายถึง เลขาธิการสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
()“ผู้ประกอบการขนส่ง หมายถึง เจ้าของ,พนักงานขับรถ,และ/หรือตัวแทนของพาหนะที่ใช้ขนส่งทางถนน ซึ่ง 1)มีใบอนุญาตให้ประกอบการขนส่งข้ามแดนและเป็นผู้ซึ่งมีประวัติการประกอบการว่าเป็นผู้ที่ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบและเงื่อนไขตามใบอนุญาตที่ได้รับนั้น,และ 2) ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นผู้ประกอบการขนส่งข้ามแดนจากหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศหรือจากคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติของภาคีคู่สัญญานั้น ๆ

ข้อ
กรอบการบังคับใช้
บทบัญญัติแห่งความตกลงนี้จะใช้บังคับกับการขนส่งข้ามแดน ความตกลงนี้ไม่ครอบคลุมถึงการขนส่งภายในประเทศ
ข้อ
การให้สิทธิ
1.ภายใต้บทบัญญัติแห่งความตกลงนี้ แต่ละภาคีคู่สัญญาจะให้สิทธิในการขนส่งข้ามแดนแก่ภาคีคู่สัญญาอื่นดังนี้
()อนุญาตให้ผู้ประกอบการขนส่งที่จัดตั้งขึ้นในภาคีคู่สัญญาประเทศหนึ่งสามารถขนส่งสินค้าเข้าไปยังและ/หรือ ออกจากดินแดนของภาคีคู่สัญญาประเทศอื่น
()สิทธิในการบรรทุกและขนถ่ายสินค้าที่มีจุดปลายทางอยู่ในหรือมาจากภาคีคู่สัญญา
2.ภาคีคู่สัญญาจะพยายามให้มีการอำนวยความสะดวกสำหรับการขนส่งข้ามแดนตามที่กำหนดไว้ในความตกลงนี้
3.การขนส่งข้ามแดนซึ่งได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของประเทศผู้รับจะไม่ตกอยู่ภายใต้ความล่าช้าหรือข้อจำกัดอันไม่จำเป็น

ส่วนที่
การกำหนดเส้นทางการขนส่งข้ามแดนและที่ทำการชายแดน
ข้อ
เส้นทางและสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน

1.ภาคีคู่สัญญาตกลงว่าเส้นทางการขนส่งผ่านแดนตามที่กำหนดไว้ในพิธีสารฉบับที่ 1 : การกำหนดเส้นทางการขนส่งผ่านแดนและสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน พ..2541 ลงนาม ณ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ..2550 จะเป็นเส้นทางและสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดนเพื่อประโยชน์แห่งของความตกลงนี้
2.ภาคีคู่สัญญาอาจเสนอแก้ไข และ/หรือขยายเส้นทางการขนส่งข้ามแดนที่กำหนดไว้ได้เป็นครั้งคราว การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เสนอโดยภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะต้องได้รับการตกลงร่วมกันของภาคีคู่สัญญาที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านติดกัน ข้อตกลงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้เก็บรักษาที่เลขาธิการอาเซียน
3. เพื่อประโยชน์แห่งความปลอดภัย ภาคีคู่สัญญาจะพยายามจัดให้มีจุดพักรถตามเส้นทางดังกล่าวภายในดินแดนตน เป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม

ข้อ
ที่ทำการชายแดนและสิ่งอำนวยความสะดวก

1.ภาคีคู่สัญญาตกลงว่าที่ทำการชายแดนตามที่กำหนดในพิธีสาร ฉบับที่ 2 : การกำหนดที่ทำการชายแดน ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน จะเป็นที่ทำการชายแดนเพื่อประโยชน์แห่งการขนส่งข้ามแดนภายใต้ความตกลงนี้
2.ภาคีคู่สัญญาอาจเสนอแก้ไข และ/หรือขยายที่ทำการชายแดนที่กำหนดไว้ได้เป็นครั้งคราว การแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เสนอโดยภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะต้องได้รับการตกลงร่วมกันของภาคีคู่สัญญาที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านติดกัน ข้อตกลงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้เก็บรักษาที่เลขาธิการอาเซียน
3.ภาคีคู่สัญญาจะจัดสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ณ บริเวณที่ทำการชายแดนบนเส้นทางการขนส่งข้ามแดน
4.ภาคีคู่สัญญาจะพยายาม
()หากเป็นไปได้และภายใต้เขตอำนาจของภาคีคู่สัญญา จัดให้ที่ทำการชายแดนอยู่ติดกับที่ทำการชายแดนของภาคีคู่สัญญาอื่น โดยให้มีบริเวณควบคุมและมาตรการตรวจสอบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินการตรวจปล่อยสินค้าและพาหนะที่ใช้ในการขนส่งภายใต้ความตกลงนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการขนถ่ายและบรรทุกใหม่ที่ซ้ำซ้อน ความตกลงนี้ไม่ขัดขวางภาคีคู่สัญญาสองฝ่ายหรือมากกว่านั้น ในการทำการตรวจสอบร่วม ณ ที่เดียวกัน โดยเจ้าหน้าที่ของภาคีคู่สัญญาดังกล่าว
()รับรองว่าจะมีบุคลากรที่เหมาะสม เพื่อให้การดำเนินการตามพิธีการผ่านแดน เช่น การเข้าเมือง ศุลกากร การตรวจโรค และการควบคุมเรื่องเงินตราต่างประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว
()ประสานงานเรื่องชั่วโมงการท างานระหว่างที่ทำการซึ่งอยู่ติดกัน
()จัดให้มีที่จอดอย่างเพียงพอเท่าที่ที่เป็นไปได้ สำหรับตู้คอนเทนเนอร์และรถที่รอการตรวจปล่อยสินค้า
5. ภาคีคู่สัญญาจะถือตามบทบัญญัติของอนุสัญญาระหว่างประเทศเรื่องการประสานการควบคุมสินค้าตามชายแดน ลงนามที่กรุงเจนีวา วันที่ 21 ตุลาคม พ..2525 ในส่วนที่เป็นไปได้ ในการประสานจุดอำนวยความสะดวกสำหรับสินค้าที่ขนส่งภายใต้ความตกลงนี้

ส่วนที่
เงื่อนไขทั่วไปในการขนส่งทางถนน
ข้อ
กฎระเบียบจราจร
ภาคีคู่สัญญาจะพยายามดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อประสานกฎระเบียบจราจรที่ใช้บังคับในดินแดนตนให้เป็นไปตามสาระของบทบัญญัติอนุสัญญาว่าด้วยการจราจรทางถนนระหว่างประเทศ ลงนามที่เวียนนา วันที่ 8 พฤศจิกายน พ..2511 และอนุสัญญาว่าด้วยป้ายและสัญญาณทางถนน ลงนามที่เวียนนา วันที่ 8 พฤศจิกายน พ..2511

ข้อ
การให้บริการการขนส่งข้ามแดน

1.ภาคีคู่สัญญาจะยอมให้ใช้พาหนะที่ใช้ในการขนส่งที่จดทะเบียนในภาคีคู่สัญญาอื่น ๆ ในการให้บริการขนส่งข้ามแดนในดินแดนของตนตามที่กำหนดไว้ในข้อ 5 แห่งความตกลงนี้
2.ภาคีคู่สัญญาตกลงว่าจำนวนรถที่จะอนุญาตให้ใช้ในการขนส่งข้ามแดนจะไม่เกินกว่าห้าร้อย (500) คันต่อหนึ่งประเทศภาคีคู่สัญญา หลังจากนั้น การกำหนดจำนวนรถที่ใช้ในการขนส่งข้ามแดนจะมีการหารือกันเป็นระยะ ๆ ในระหว่างภาคีคู่สัญญา
3.หลักการของพิธีสาร ฉบับที่ 3 :ประเภทและปริมาณรถภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน พ..2541 ลงนาม ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ..2542 จะมีผลใช้บังคับกับความตกลงนี้ ยกเว้นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับปริมาณรถที่ใช้ในการขนส่งผ่านแดนตามที่ระบุไว้ในข้อ 4 ของพิธีสารดังกล่าว

ข้อ ๑๐
ใบอนุญาตประกอบการ

ภาคีคู่สัญญารับที่จะประสานข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งทางถนนเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน

ข้อ ๑๑
ข้อกำหนดทางเทคนิคของรถ

พาหนะที่ใช้ในการขนส่งข้ามแดนทางถนนจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดทางเทคนิคของรถในเรื่องขนาดรถ น้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุกสูงสุด มาตรฐานการปล่อยไอเสีย และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่ระบุในพิธีสาร ฉบับที่ 4: ข้อกำหนดทางเทคนิคของรถ ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน พ..2541 ลงนาม ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ..2542

ข้อ ๑๒
การยอมรับหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ

1.  ภาคีคู่สัญญารับที่จะทำการตรวจสภาพรถที่จดทะเบียนในดินแดนของตนเพื่อใช้ในการขนส่งข้าม
แดน ตามรอบระยะเวลา
2.ภาคีคู่สัญญาจะยอมรับหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถซึ่งใช้ในการขนส่งข้ามแดนที่ออกให้โดยภาคีคู่สัญญาอื่นตามความตกลงว่าด้วยการยอมรับหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถที่ใช้ในเชิงพาณิชย์สำหรับรถบรรทุกสินค้าและรถบริการสาธารณะที่ออกโดยประเทศสมาชิกอาเซียน ลงนามที่สิงคโปร์ วันที่ 10 กันยายน พ..2541

ข้อ ๑๓
การยอมรับใบขับขี่ระหว่างกัน

ภาคีคู่สัญญาจะยอมรับใบอนุญาตขับขี่ซึ่งออกให้โดยภาคีคู่สัญญาอื่นทุกฝ่ายเพื่อประโยชน์แห่งการขนส่งข้ามแดน ตามความตกลงว่าด้วยการยอมรับใบอนุญาตขับขี่ภายในประเทศที่ออกให้โดยประเทศสมาชิกอาเซียน ลงนาม ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันที่ 9 กรกฎาคม พ..2528

ข้อ ๑๔
แผนประกันอุบัติภัยทางรถภาคบังคับของอาเซียน

1.รถที่จะวิ่งเข้าดินแดนของภาคีคู่สัญญาอื่นจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเกี่ยวกับการประกันภัยรถภาคบังคับของประเทศผู้รับ
2.ภาคีคู่สัญญาตกลงที่จะปฏิบัติตามแผนประกันอุบัติภัยทางรถภาคบังคับตามที่ระบุในพิธีสาร ฉบับที่ 5 : แผนประกันอุบัติภัยทางรถภาคบังคับของอาเซียน ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน พ..2542 ลงนาม ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ วันที่ 8 เมษายน พ..2544

ข้อ ๑๕
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
ภาคีคู่สัญญาจะพยายามทำให้เกิดความเรียบง่าย รวบรวม และประสานค่าธรรมเนียม ตลอดจนค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งเรียกเก็บจากพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง

ข้อ ๑๖
การนำรถเข้าเป็นการชั่วคราว

เพื่อประโยชน์แห่งความตกลงนี้ ภาคีคู่สัญญาจะให้สิทธิในการนำรถ (ตลอดจนเชื้อเพลิงที่อยู่ในถังบรรจุ, น้ำมันหล่อลื่น, วัสดุที่ใช้ในการซ่อมบำรุงและอะไหล่รถในปริมาณที่สมเหตุสมผล) ที่จดทะเบียนในประเทศภาคีคู่สัญญาอื่นเข้ามาในดินแดนของตนเป็นการชั่วคราว โดยไม่ต้องเสียภาษีและค่าธรรมเนียมในการนำเข้า ไม่ต้องวางเงินประกันศุลกากร และปลอดจากข้อห้ามและข้อจำกัดในการนำเข้า แต่ทั้งนี้จะต้องนำรถออกนอกประเทศและปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เกี่ยวข้อง

ส่วนที่
ระบบการควบคุมทางศุลกากร และมาตรการเกี่ยวกับการตรวจโรคในคนและพืช
ข้อ ๑๗
การประสานและทำให้เกิดความเรียบง่ายในส่วนของพิธีการทางศุลกากร

1.ภาคีคู่สัญญาจะทำให้เกิดความเรียบง่ายในส่วนของระเบียบควบคุมทางศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวกับการขนส่งข้ามแดน รวมทั้งประสานระเบียบดังกล่าว เมื่อพร้อม เพื่อรับรองการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบซึ่งศุลกากรมีหน้าที่ใช้บังคับ
2.ภาคีคู่สัญญาจะอำนวยความสะดวกแก่การขนส่งข้ามแดน โดยทำการตรวจร่วมทางศุลกากรที่ ที่ทำการชายแดนที่กำหนด ในกรณีที่เป็นไปได้

ข้อ ๑๘
การจัดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการตรวจโรคในคนและพืช

ภาคีคู่สัญญาตกลงที่จะจัดให้มีมาตรการเกี่ยวกับการตรวจโรคในคนและพืช ตามที่ระบุในพิธีสาร ฉบับที่ 8 :มาตรการเกี่ยวกับการตรวจโรคในคนและพืช ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน พ..2542 ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ วันที่ 27 ตุลาคม พ..2543

ส่วนที่
บทบัญญัติอื่น ๆ
ข้อ ๑๙
บทบัญญัติพิเศษเรื่องการขนส่งสินค้าอันตรายข้ามแดน

ความตกลงนี้ไม่อนุญาตให้ทำการขนส่งสินค้าอันตรายข้ามแดน เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตพิเศษจากภาคีคู่สัญญาที่การขนส่งดังกล่าวเกิดขึ้นตามที่ระบุในพิธีสาร ฉบับที่ 9 :สินค้าอันตราย ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน พ..2542 ลงนาม ณ กรุงจาการ์ตา วันที่ 20 กันยายน พ..2545

ข้อ ๒๐
บทบัญญัติพิเศษเรื่องการขนส่งสินค้าต้องห้ามและ/หรือสินค้าต้องกำกัด

ความตกลงนี้ไม่อนุญาตให้ทำการขนส่งสินค้าต้องห้ามและ/หรือสินค้าต้องกำกัดข้ามแดน

ข้อ ๒๑
บทบัญญัติพิเศษเรื่องการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายข้ามแดน

ภายใต้บทบัญญัติแห่งความตกลงนี้ ภาคีคู่สัญญาจะพยายามอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายข้ามแดน

ข้อ ๒๒
บทบัญญัติเรื่องการอำนวยความสะดวกที่มากกว่า

ความตกลงนี้ไม่เป็นเงื่อนไขให้ต้องยกเลิกการอำนวยความสะดวกมากกว่าที่กำหนดไว้ในความตกลงนี้ ตราบเท่าที่สาระสำคัญและเงื่อนไขสอดคล้องกับหลักที่วางไว้ในความตกลงนี้ นอกจากนี้ ความตกลงนี้ไม่ห้ามภาคีคู่สัญญาทำการอำนวยความสะดวกที่มากกว่านี้ หากภาคีคู่สัญญาได้ตกลงกันในอนาคต

ข้อ ๒๓
กฎหมายภายในประเทศ

1.ให้ใช้กฎหมายและระเบียบภายในประเทศของประเทศภาคีคู่สัญญาเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอย่างเท่าเทียมและโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อการขนส่งข้ามแดน ในส่วนที่ความตกลงนี้ไม่ได้กำหนดไว้
2.ภาคีคู่สัญญาจะพยายามที่จะประสานและทำให้เกิดความเรียบง่ายในส่วนของกฎเกณฑ์ ระเบียบและระเบียบของฝ่ายบริหารที่เกี่ยวกับการขนส่งข้ามแดนตามบทบัญญัติแห่งความตกลงนี้

ข้อ ๒๔
การปฏิบัติตามกฎหมายภายในประเทศ

เว้นแต่มีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในความตกลงระหว่างภาคีคู่สัญญา รวมทั้งในความตกลงนี้
()พาหนะที่ใช้ในการขนส่งของภาคีคู่สัญญา รวมทั้งบุคคลและสินค้า เมื่ออยู่ในดินแดนของภาคีคู่สัญญาอื่น ให้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบภายในประเทศที่ใช้บังคับในดินแดนนั้น
()ภาคีคู่สัญญาจะไม่บังคับใช้ข้อกำหนดที่เคร่งครัดว่ากฎหมายและระเบียบภายในของภาคีคู่สัญญาที่ใช้กับพาหนะที่ใช้ในการขนส่งของตน ต่อบุคคลหรือสินค้าของภาคีคู่สัญญาอื่น และ
()ประเทศผู้รับอาจจะปฏิเสธการเข้ามาในดินแดนของตนของบุคคล, พนักงานขับรถ, ผู้ประกอบการขนส่ง, รถที่ใช้ขนส่งที่กระทำการฝ่าฝืนกฎหมายและระเบียบภายในประเทศ หรือฝ่าฝืนความตกลงนี้

ข้อ ๒๕
ความโปร่งใส

1.ภาคีคู่สัญญาจะรับรองความโปร่งใสของกฎหมาย ระเบียบ และระเบียบของฝ่ายบริหาร ซึ่งมีผลต่อการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดนภายใต้ความตกลงตลอดจนพิธีสารภายใต้ความตกลง
2.เพื่อวัตถุประสงค์ของความตกลงนี้ ภาคีคู่สัญญาทั้งหมดจะส่งกฎหมาย ระเบียบ และระเบียบของฝ่ายบริหารที่กล่าวมาข้างต้นของตน เพื่อเก็บรักษาไว้กับเลขาธิการอาเซียน ภายในหกเดือนนับแต่ความตกลงนี้มีผลใช้บังคับ
3.หากเอกสารที่กล่าวมาข้างต้น ไม่ได้เป็นภาษาอังกฤษ ให้ส่งคำแปลเป็นภาษาอังกฤษของเอกสารดังกล่าว เพื่อเก็บรักษาไว้กับเลขาธิการอาเซียน ภายในหนึ่งปีนับแต่ความตกลงนี้มีผลใช้บังคับ

ข้อ ๒๖
การให้ความช่วยเหลือกรณีอุบัติเหตุในการจราจร

หากพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง รวมทั้งบุคคลและสินค้าของภาคีคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุในการจราจรในดินแดนของภาคีคู่สัญญาอื่น ให้ภาคีคู่สัญญาอื่นนั้น ให้ความช่วยเหลือทุกอย่างแก่พาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้น รวมทั้งบุคคลและสินค้า และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของภาคีคู่สัญญาที่เกี่ยวข้องทราบอย่างรวดเร็ว

ส่วนที่
การตั้งองค์กร
ข้อ ๒๗
การตั้งองค์กร

1.คณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามข้อ 29 ของกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ลงนาม ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ..2541 จะเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบประสานงานและดำเนินการให้เป็นไปตามความตกลงนี้
2.คณะกรรมการบริหารการประสานการขนส่งผ่านแดน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามข้อ 29 ของกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน ลงนาม ณ กรุงฮานอย เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ..2541 จะทำหน้าที่ดูแลการประสานงานและดำเนินการตามความตกลงนี้ในภาพรวม นอกจากนี้ ให้คณะกรรมการบริหารนี้ มีอำนาจขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นของอาเซียนในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามความตกลงนี้
3.ให้คณะกรรมการบริหารการประสานการขนส่งผ่านแดนรายงานเกี่ยวกับการดำเนินการตามความตกลงนี้เป็นระยะ ๆ รวมทั้งขอรับการชี้นำในประเด็นที่สำคัญและหากจำเป็นจากหน่วยงานระดับรัฐมนตรีอาเซียนที่เกี่ยวข้อง
4.ให้เลขาธิการอาเซียนให้ความช่วยเหลือคณะกรรมการบริหารการประสานการขนส่งผ่านแดนในการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบตามความตกลงนี้ โดยเฉพาะการติดตามและรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการตามความตกลงนี้ ให้เลขาธิการอาเซียนส่งรายงานการประเมินต่อคณะกรรมการบริหารการประสานการขนส่งผ่านแดนสำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไป

ส่วนที่
บทสุดท้าย
ข้อ ๒๘
การระงับข้อพิพาท

ให้ใช้บทบัญญัติแห่งความตกลงอาเซียนว่าด้วยการกลไกการระงับข้อพิพาท ซึ่งทำ ณ กรุงเวียงจันทน์ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ..2547 และความตกลงในส่วนที่มีการแก้ไขใด ๆ ในการระงับข้อพิพาทภายใต้ความตกลงนี้

ข้อ ๒๙
ความตกลงอื่นที่มีผลใช้บังคับอยู่

ความตกลงนี้หรือการปฏิบัติการตามความตกลงนี้ จะไม่กระทบสิทธิและข้อผูกพันที่ภาคีคู่สัญญามีภายใต้ความตกลงหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศใด ๆ ซึ่งภาคีคู่สัญญาเป็นสมาชิกอยู่

ข้อ ๓๐
การปฏิบัติตามความตกลง

1.ในการปฏิบัติตามความตกลงนี้ ภาคีคู่สัญญาที่มีความพร้อมตั้งแต่สองภาคีคู่สัญญาหรือมากกว่าสามารถเจรจาต่อรอง ตกลงและลงนามในข้อตกลง/ความตกลงในการใช้บังคับซึ่งสอดคล้องกับหลักการ ASEAN X ได้ทั้งในรูปแบบความตกลงหลายฝ่าย ในระดับพหุภาคี หรือในระดับภูมิภาค สำหรับประเทศภาคีคู่สัญญาที่เหลือสามารถจะปฏิบัติตามความตกลงเมื่อประเทศของตนมีความพร้อม
2.พิธีสารภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนซึ่งได้มีการอ้างถึงในความตกลงนี้ รวมถึงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อพิธีสารดังกล่าวนั้น จะใช้บังคับแก่การขนส่งข้ามแดนภายใต้ความตกลงนี้โดยอนุโลม ให้ถือว่าพิธีสารฉบับดังกล่าว รวมถึงการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ ต่อพิธีสารดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงนี้
3.สำหรับแต่ละภาคีคู่สัญญา พิธีสารข้างต้นจะมีผลต่อความตกลงนี้ในวันที่ยื่นสัตยาบันสารหรือสารยอมรับพิธีสารดังกล่าวนั้น หรือวันที่ยื่นสัตยาบันสารหรือสารยอมรับความตกลงฉบับนี้แก่เลขาธิการอาเซียน แล้วแต่ว่ากรณีใดจะเกิดขึ้นหลัง

ข้อ ๓๑
บทบัญญัติสุดท้าย

1.ความตกลงนี้จะต้องมีการให้สัตยาบันหรือสารยอมรับจากภาคีคู่สัญญา
2.สัตยาบันสารหรือสารยอมรับจะเก็บรักษาไว้กับเลขาธิการอาเซียน ซึ่งจะแจ้งให้ภาคีคู่สัญญาแต่ละฝ่ายทราบถึงการเก็บรักษาโดยทันที
3.ความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่สามสิบนับจากวันที่ได้มีการยื่นสัตยาบันสารหรือสารยอมรับฉบับที่สองแล้ว และจะมีผลใช้บังคับระหว่างภาคีคู่สัญญาต่างๆ ที่ได้ยื่นสัตยาบันหรือสารยอมรับความตกลงนี้แล้วเท่านั้น แต่ละภาคีคู่สัญญาที่ยื่นสัตยาบันสารหรือสารยอมรับความตกลงนี้หลังจากที่มีการยื่นสัตยาบันสารหรือสารยอมรับฉบับที่สองแล้ว ความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับแก่ภาคีคู่สัญญานั้นในวันที่สามสิบนับจากวันที่ภาคีคู่สัญญาดังกล่าวนั้นได้ยื่นสัตยาบันสารหรือสารยอมรับ
4.ความตกลงนี้ห้ามทำข้อสงวนไม่ว่าในเวลาลงนาม ให้สัตยาบันหรือสารยอมรับ
5.การแก้ไขบทบัญญัติแห่งความตกลงนี้ ให้มีผลโดยความยินยอมของภาคีคู่สัญญาทุกฝ่าย
เพื่อเป็นพยานแก่การนี้ ผู้ลงนามข้างท้ายนี้ ซึ่งได้รับมอบอำนาจโดยถูกต้องให้ลงนามในนามของรัฐบาลแต่ละฝ่าย ได้ลงนามในกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามแดนนี้ ทำ ณ วันที่ เป็นฉบับภาษาอังกฤษฉบับเดียว